เทคนิคการทำ Web Accessibility ใน 10 ขั้นตอน

Web Accessibility ก็คือการทำเว็บให้คนทุกกลุ่ม เข้าถึงได้ คือ เข้าใช้งานได้ โดยไม่มีอุปสรรค เป็นศาสตร์การออกแบบที่เป็นสากล หรือที่เรียกว่า Universal Design บางคนอาจจะเรียกเป็นไทยว่า อารยะสถาปัตย์ ขั้นตอนการทำเว็บไซต์ ก็จะต้องมีการออกแบบและวางแผน ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน โดยมีขั้นตอนที่จะสรุปดังนี้

ขั้นตอนการพัฒนา Web Acessibility

  1. วางแผนก่อนทำเว็บไซต์

    วางโครงสร้างของเว็บไซต์ sitemap ของเว็บไซต์ ไล่ลำดับความสำคัญ และการกำหนด Header (H1, H2,.., H6)

  2. รูปภาพให้มีคำอธิบายรูปภาพ

    ต้องคำนึงว่าทุกๆ รูปภาพ คนตาบอด เข้าไม่ถึง จำเป็นจะต้องใส่คำอธิบาย เช่น <img src="thaiwebaccessibility-logo.png" alt="โลโก้ของ Thaiwebaccessibility" />

  3. บางเทคนิคไม่เหมาะกับเว็บในยุคปัจจุบัน

    หลีกเลี่ยงการใช้ Tag บางอย่างที่ไม่ได้สื่อความหมาย เช่น <b> <i> <u> <marquee> เป็นต้น และเว็บที่เป็น XHTML หรือ eXtensible HyperText Markup Language นั้น จะต้อง ปิด Tag ให้เรียบร้อย ใช้ตัวอักษรตัวเล็กเท่านั้น ทั้ง ชื่อ Tag และ Element

  4. ใส่ใจในรายละเอียด

    ควรกำหนด Title, Meta Tag ให้สื่อความหมาย ในเว็บไม่ควรใช้ Title เดียวทั้งเว็บไซต์ เพราะคนจะไม่ทราบว่า หน้านี้เกี่ยวกับ อะไร

  5. แยกระหว่าง “เนื้อหา” กับ “รูปแบบ”

    การทำเว็บไซต์ เพื่อให้เข้ากับหลักการข้อที่ 4 หรือ Robust นั้น จะต้องแยกระหว่าง เนื้อหา (Content) และ รูปแบบ (Format) ออกจากกัน ไม่นำเอารูปแบบไปจัดรวมกับเนื้อหา

  6. เลือกใช้เทคนิค และ เทคโนโลยีที่เหมาะสม

    บางเทคโนโลยีไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงสารสนเทศ เช่น Flash อาจจะใช้ไม่ได้กับอุปกรณ์บางประเภท การกำหนดให้ PopUp หน้าต่างใหม่ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเข้าถึง เป็นต้น

  7. อำนวยความสะดวกให้กับการเข้าถึง เพิ่มมากยิ่งขึ้น

    โดยจะมีเทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวกให้การเข้าถึง ทำได้ดียิ่งขึ้น ได้แก่

    • Closed Caption
    • ARIA
    • ย่อ / ขยาย ตัวอักษร
    • ปรับสีให้เหมาะกับคนสายตาเลือนราง
  8. ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ

    การตรวจสอบการเข้าถึงด้วยเครื่องมือการเข้าถึง เช่น http://www.thaiwebaccessibility.com/validator ซึ่งสามารถตรวจสอบเรื่องการเข้าถึง และเรื่องของ Color Contrast เป็นต้น

  9. ตรวจสอบด้วยผู้ใช้จริง

    นอกจากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ (Validation Tools) แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบด้วยบุคคลด้านอื่น ๆ ด้วยเพื่อทดสอบการเข้าถึง ได้แก่ ผู้พิการทางสายตา ผู้สายตาเลือนราง ผู้สูงอายุ เป็นต้น เพราะการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ จะช่วยในการตรวจสอบได้สัก 30-50 % ของการตรวจสอบทั้งหมด

  10. ติดตามเทคโนโลยี เป็นประจำ

    โดยเรื่องของ Web Accessibility นั้น จะมีองค์กรที่เป็นผู้ออกมาตรฐาน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.w3c.org/wai เป็นต้น

การดำเนินการตาม 10 ข้อที่ว่า น่าจะช่วยด้านการเข้าถึง (Accessible) ได้พอสมควร และ แต่การดำเนินการ อย่างเป็นระบบ จำเป็นต้องใช้ เวลา ความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร และความใส่ใจ ในการดำเนินการ หากต้องการขอคำปรึกษา หรือ ให้เราช่วยตรวจสอบเว็บไซต์ สอบถามได้ที่ [email protected] หรือ โทร. 084-010-5208 ร่วมกันสร้างสังคม Online ให้น่าอยู่ด้วยการสร้างเว็บที่ออกแบบที่เป็นสากล หรือที่เรียกว่า Universal Design หรือว่า อารยะสถาปัตย์ กันนะครับ

หมายเหตุ: องค์กร W3C ได้ออกโลโก้ที่สามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาได้มาตราฐาน ซึ่งการตรวจสอบด้วยคอมพิวเตอร์นั้นถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการตรวจสอบเว็บไซต์ โดยในการตรวจสอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น จำเป็นต้องตรวจสอบในระดับ User แต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมถึงการตรวจสอบด้วยโปรแกรมช่วยเหลือสำหรับ User แต่ละประเภท เช่น โปรแกรม Screen Reader เพื่อยืนยันว่าเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์ เป็นสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้ครบถ้วน ได้มาตราฐาน

Date: 
Friday, 1 January 2016