ในการจัดทำสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Online หรือ Offline ย่อมมีความต้องการที่จะให้มีผู้รับชมสื่อ ได้มากที่สุด ดังนั้นผู้จัดทำจะต้องคำนึงถึงการรับรู้ของคนทุกกลุ่ม

จากจำนวนประชากร เกือบ 70 ล้านคน นอกจากผู้พิการทางการได้ยินจำนวนมากเกือบ 1 ล้านคนในประเทศไทย แล้วปัญหาทางการได้ยินจากการรับชมสื่อ ยังรวมไปถึงผู้ชมทั่วๆไป เช่น การรับชมในที่ๆมีเสียงรบกวน นั่นหมายความว่าในความเป็นจริงแล้ว เมื่อไม่มีคำบรรยาย หรือไม่ได้มีข้อความบรรยายในบางฉาก ผู้รับชมอาจจะไม่สามารถเก็บรายละเอียดใดๆได้เลยว่ากำลังมีอะไรเกิดขึ้นในทีวี หรือ สื่อนั้นๆ

"สิทธิ์ในการรับสื่อที่เท่าเทียมของผู้พิการทางการได้ยิน” เป็นเรื่องที่แพร่หลายในต่างประเทศแต่กลับใหม่มากสำหรับบ้านเรา ประเด็นนี้จะหมดไป หาก “Caption“ ถูกกำหนดใช้ในบ้านเราอย่างจริงจัง บริการคำแทนเสียงทั่วไปมี 2 ประเภท คือ

  • บรรยายแทนเสียงแบบปิดและแบบเปิด - คำบรรยายแทนเสียงแบบปิด Closed Captions (CC) สามารถเปิดหรือปิดให้แสดงผลบนหน้าจอได้ โดยมีสัญลักษณ์อักษร CC สามารถพบได้บนโปรแกรมแสดงผังรายการโทรทัศน์หรือบนแผ่น DVD หรือแผ่นบลูเลย์ที่มีบริการ และในสื่อ Online อย่าง Youtube
  • คำบรรยายแทนเสียงแบบเปิด CC Open caption (OC) จะไม่สามารถเปิดหรือปิดการแสดงผลบนหน้าจอโทรทัศน์ได้

บริการคำบรรยายแทนเสียงหรือ Caption จะทำหน้าที่แทนการสนทนา การบรรยาย เพื่อที่ให้ผู้พิการทางการได้ยินสามารถเข้าถึง เข้าใจในเนื้อหาต่างๆ ทำให้เขาได้รับรู้ เรียนรู้ เข้าใจ ในเนื้อหาต่างๆ ได้เท่าเทียมคนปกติได้

สำหรับประเทศไทย หน่วยงานกำกับดูแลสื่ออย่าง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้กำหนดมาตรการเสียงบรรยายภาพขั้นพื้นฐานสำหรับสถานีโทรทัศน์ ไว้ว่า “บริการคำบรรยายแทนเสียงอย่างน้อยร้อยละ 40 ของสัดส่วนรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามประเภทการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต และต้องจัดให้มีเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 60 ซึ่งเมื่อรวมเวลาที่จัดให้มีบริการดังกล่าวตลอดทั้งวัน เฉลี่ยแล้วต้องไม่น้อยกว่าหนึ่ง 180 นาทีต่อวัน”

Thaiwebaccessibility.com ให้บริการการจัดทำ ซับไตเติ้ล Caption, Sub Title ให้กับ VDO โดยมีทั้งรูปแบบ In Video หรือ แบบ Closed Caption ในรูปแบบของ Online Media ทั้ง Youtube และ Online VDO

หมายเหตุ: สิ่งที่ลูกค้าต้องเตรียม เนื้อหาหรือคำบรรยาย (Script) ในรูปแบบ Microsoft Word

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

  • กสทช. http://bcp.nbtc.go.th/resource/detail/2589
  • ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ https://broadcast.nbtc.go.th/data/document/law/doc/th/590200000001.pdf